ประวัติวัด


ตั้งอยู่เลขที่  ๙๐  หมู่ ๖  ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่  อำเภอบางเสาธง  จังหวัดสมุทรปราการ    สังกัดสงฆ์มหานิกาย


ที่ดิน

ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  ๖๒  ไร่  ๘๙ ตารางวา  โฉนดที่ดินเลขที่  ๒๐๕๙๐


อาณาเขต

ทิศเหนือ            ยาว     ๑๑    เส้นเศษ           ติดต่อกับโรงเรียนวัดศรีวารีน้อย  และชุมชนบ้านพักอาศัย

ทิศใต้                  ยาว          เส้นเศษ           ติดต่อคลองบางน้ำจืด

ทิศตะวันออก    ยาว           เส้นเศษ           ติดต่อคลองจระเข้

ทิศตะวันตก       ยาว           เส้นเศษ           ติดต่อที่เอกชน


ที่ธรณีสงฆ์

                    จำนวน    แปลง  เนื้อที่  ๑๗๗  ไร่  ๗๓  งาน  ๘๙  ตารางวา  โฉนดที่ดินเลขที่  ๑๑๑, ๑๑๑ และ ๑๑๐

๑.     เป็นสถานที่โรงเรียนวัดศรีวารีน้อย  จำนวน  ๒๕  ไร่

๒.    เป็นสถานที่ตั้งสถานีอนามัย และป้อมตำรวจเพื่อประชาชน  ๑๕  ไร่

๓.    เป็นบ้านพักอาศัย และทำเกษตรกรรม


พื้นที่ตั้งวัด

                    เป็นที่ราบลุ่ม


การคมนาคม

                    ทางน้ำ ที่คลองจระเข้ผ่านหน้าวัด  ทางทิศตะวันออก  และคลองบางน้ำจืด  ทางทิศใต้

                    ทางบก มีถนนซอยแยกถนนวัดศรีวารีน้อย เข้าสู่วัดศรีวารีน้อย


อาคาร เสนาสนะต่าง ๆ

                    ภายในวัดมีดังนี้  : -

·    อุโบสถ                            กว้าง  ๓๐  เมตร  ยาว  ๖๐  เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒      

                                     เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

·    ศาลาการเปรียญ            กว้าง  ๓๐  เมตร  ยาว  ๖๘  เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ เป็น

                                     อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก             ทรงไทย    ชั้น

·    หอสวดมนต์                   กว้าง  ๑๖  เมตร  ยาว  ๒๐  เมตร  สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕

                                                     เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้

·    กุฎิสงฆ์                            จำนวน    หลัง  เป็นอาคารครึ่งตึก ครึ่งไม้

·    วิหาร                                 กว้าง  ๑๐.๕๐  เมตร  ยาว  ๒๐.๕๕  เมตร 

                                     สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ บูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕                                                                           เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

·    ศาลาเฉลิมพระเกียรติ  ๘๐  พรรษา     กว้าง  ๓๐  เมตร  ยาว  ๖๘  เมตร 

                                     สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

·    ศาลาบำเพ็ญกุศล    หลัง     สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก

·    ศาลาท่าน้ำ    หลัง  ศาลาจตุรพักตร์    หลัง และ ฌาปนสถานปลอดสารพิษ (เมรุ)

                    วัดศรีวารีน้อย  ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐


โบราณสถาน

                    โบราณสถานที่น่าสนใจภายในวัดศรีวารีน้อย มีดังนี้  : -

                    ๑.  อุโบสถ   ประดิษฐานพระพุทธศรีชัยมงคล  เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  หน้าตักกว้าง ๑.๕๐ เมตร  สูง    เมตรภายในพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังที่งดงาม  โดยมีอาจารย์สาคร  โสภา และศิษย์วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ และวาดภาพเขียน  เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ


                    ๒.  วิหาร       ซึ่งเป็นอุโบสถหลังเก่า  สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๘  สภาพชำรุด     ทรุดโทรมมาก  ได้ทำการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๔๕  ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน  หลวงพ่อเสือ  พระโมคคัลลานะ  พระสารีบุตร  หลวงพ่อวัดกิ่งแก้วจำลอง            (พระครูกรุณาวิหารี) และพระอื่น ๆ อีกจำนวนมาก

                    .  เรือสำเภา   สร้าง พ.ศ.๒๔๘๒  มีขนาดระวางเรือ กว้าง  ๓.๕๐  เมตร  ยาว  ๑๕  เมตร  ภายในเรือประกอบด้วย   กัปตันเรือ  เป็นรูปปั้นทหารเรือส่องกล้อง  ด้านหัวเรือ  ท้ายเรือมีประทุน  มีพระพุทธรูปถือพระไตรปิฎก  ข้างหน้าประทุนมีทหารอารักขา    ข้าง  กลางลำเรือมีเจดีย์สามองค์  แบบย่อไม้สักสององค์  อีกหนึ่งองค์เป็นแบบระฆังคว่ำ  เป็นศิลปะแบบศรีลังกา            ผู้บริจาคทรัพย์ก่อสร้างเรือสำเภาได้แก่  นายช้อย นางทิพย์   ภู่น้อย  เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

                         เหตุที่มีการสร้างเรือสำเภาไว้ตามวัด  เนื่องจากเป็นยุคซึ่งคนไทยได้นับถือพระพุทธศาสนาลัทธิหินยานอย่างเดียวกันจนถึงปัจจุบันนี้  เมื่อราว พ.ศ.๑๖๙๘  พระเจ้าปรักกรมพาหุมหาราช  ได้ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาขึ้นในลังกาทวีป  ได้อาราธนาพระมหาเถระทำสังคายนาพระพุทธศาสนาและสังฆมณฑลให้เรียบร้อย  โดยมีพระสงฆ์จากประเทศต่าง ๆ ทางตะวันออก คือ พม่า มอญ ไทย  และ เขมร  ไปลังกาทวีป  เพื่อศึกษาพระพุทธศาสนาที่ปรับปรุงใหม่ครั้งนี้  ลัทธิลังกาวงศ์ จึงแพร่หลายในพม่า มอญ ไทย และเขมร  กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง  ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์  ได้สร้างวัดและออกบวชกัน  จึงเป็นแบบอย่าง  ต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์  มีผู้เล่าต่อกันมาว่า คณะพระเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกจากลังกาทวีปล่องเรือมายังสยามประเทศ  สาธุชนจึงได้สร้างเรือสำเภาขึ้นไว้ตามวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์และถวายเป็นพุทธบูชา


๔.        พระเจดีย์  มีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง  ตั้งอยู่หน้าวิหารวัดศรีวารีน้อย    องค์  ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างขึ้นเมื่อใด  ได้บรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีวารีน้อย


๕.แท้งค์น้ำสมัยโบราณ   ตั้งอยู่ที่วัดศรีวารีน้อย  เป็นคอนกรีตขนาดกว้าง    เมตร  ยาว    เมตร  สูง    เมตร  เป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์  เปิดด้านบน  เป็นที่ใช้เก็บน้ำฝน  มีบันไดขึ้น  มีช่องตักน้ำ มีฝาปิด  สร้างเมื่อ  พ.ศ.๒๔๘๐  ใช้สำหรับเก็บน้ำฝนไว้ดื่มในฤดูแล้ง  ผู้บริจาคทรัพย์สร้างแท้งค์น้ำ  คือ นายช้อย -  นางทิพย์    ภู่น้อย


ปูชณียวัตถุ

                    ๑.  หลวงพ่อเสือ   เป็นพระปางมารวิชัย  เนื้อทองสัมฤทธิ์  หน้าตักกว้าง  ๑๔๙  เมตร  สูง  ๑๙๙  เมตร  เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย  ประดิษฐานภายในวิหารวัดศรีวารีน้อย  มีเรื่องเล่าสืบมาเมื่อประมาณ  ๑๐๐  ปีมาแล้วว่า  หลวงปู่ฉิม   นุชสา  ได้สร้างอุโบสถ มีสาธุชนทั้งใกล้และไกลต่างมาร่วมบุญกุศลในการสร้างอุโบสถเป็นจำนวนมาก  ทั้งกำลังความคิด แรงกาย และกำลังทรัพย์  พร้อมทั้งหล่อพระประธานเพื่อประดิษฐานไว้ในอุโบสถ และจัดพิธีพุทธาภิเษก  การจัดพิธีครั้งนี้ได้กราบอาราธนาหลวงพ่อปาน  วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย) เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง  หลวงพ่อปานได้เอาวัตถุมงคลทำด้วยไม้เป็นรูปเสือ    ตัว  บรรจุไว้ในฐานพระพุทธรูป  จึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้กันต่อมาว่า  หลวงพ่อเสือ


                    ๒.  หลวงพ่อหมอ   พระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางห้ามญาติ  เนื้อทองสัมฤทธิ์  เป็นศิลปะสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา  ขนาดองค์สูง  ๒.๕  ฟุต  ประดิษฐานภายในวิหารวัดศรีวารีน้อย  จากการบอกเล่าของ นายผ่อง   ไวกุลเพชร  อดีตไวยาวัจกรวัดศรีวารีน้อย  ขณะมีชีวิตอยู่เล่าว่าผู้มีจิตศรัทธานำพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีความงดงามมาก  มาถวายหลวงปู่ฉิม  นุชสา  เมื่อสร้างวัดเสร็จใหม่ ๆ ประชาชนมีความเคารพนับถือกราบไหว้ทั้งใกล้และไกลเป็นจำนวนมาก  คนเจ็บไข้ได้ป่วย  หรือเกิดความทุกข์ใจในการทำมาหากิน  ก็มาบูชาจุดธูปเทียน  ปิดทอง  ขอพร  ขอน้ำมนต์ไปดื่ม-อาบ และประพรมเลือกสวนไร่นา  ก็ได้รับผลสำเร็จ  หายจากโรคภัยต่าง ๆ  จึงเรียกกันว่า  หลวงพ่อหมอ  ตั้งแต่นั้นมา


                    ๓.  พระศรีอาริยเมตไตรย์  มีขนาดหน้าตักกว้าง  ๑.๒๙  เมตร  สูง  ๑.๘๙  เมตร  ประดิษฐานอยู่ในศาลาการเปรียญวัดศรีวารีน้อย  หลวงพ่อฉิม   นุชสา  เจ้าอาวาสวัดศรีวารีน้อยในขณะนั้น  ได้จัดพิธีหล่อพระประธานพระศรีอาริยเมตไตรย์ และจัดพิธีพุทธาภิเษกในคราวเดียวกัน  โดยมีหลวงพ่อปาน  วัดมงคลโคธาวาส (วัดบางเหี้ย)  เป็นประธาน  วัตถุประสงค์เพื่อให้สาธุชนได้บูชากราบไหว้เพื่อรองรับความปรารถนาที่ต้องการค้นพบพระศรีอาริยเมตไตรย์

                         พระศรีอาริยเมตไตรย์นี้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่    ในภัทรกัปนี้  โดยได้รับการพยากรณ์หลังจากพระพุทธเจ้าของเราเององค์ปัจจุบัน  คือ  ในกับปนี้ถือเป็นกัปแห่งความเจริญ เรียกว่า ภัทรกัป  จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติตรัสรู้ถึง    พระองค์  โดยได้ตรัสรู้ไปแล้ว    องค์  คือ  พระกกุสันโธ  พระโกนาคม  พระพุทธกัสปะ  และพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์-      ปัจจะบัน) เป็นองค์ที่ ๔ ในภัทรกัปนี้  มีประวัติกล่าวไว้ว่า  ในครั้งพุทธกาลพระนางประชาบดีโคตรมี  มีความศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง  ครั้งหนึ่งได้นำผ้าใหม่ที่เย็บและย้อมมาอย่างดี  โดยตั้งใจเจาะจงจะมาถวายแด่พระตถาคตเจ้า  แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงรับ  ยังความโศกเคร้าแก่พระนางเป็นอย่างมาก  ต่อมาพระนางได้นำผ้าไปถวายแก่พระอรหันต์ทั้งหลายที่นั่งรองลงมาตามลำดับ  มีพระโมคคลานะ พระสารีบุตร เรื่อยมา  แต่พระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่รับผ้าเหล่านั้นของพระนางแม้แต่องค์เดียว  ยังความโศกเศร้าเสียใจแก่พระนางเป็นล้นพ้น  จนมาถึงพระภิกษุองค์สุดท้ายชื่อว่า พระอาชิตะ เป็นพระนวกะผู้บวชใหม่  พระนางจึงนำผ้าไปถวายพระภิกษุองค์สุดท้ายนั้นก็รับไว้  พระนางครุ่นคิดเสียใจว่า เราทำผ้าใหม่มาอย่างดีเจาะจงเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้า  แต่พระองค์ก็ทรงปฏิเสธไม่ทรงรับ  แม้พระอรหันต์ทั้งหลายผู้ทรงคุณวิเศษก็ไม่รับ  มาสำเร็จประโยชน์ในการถวายพระภิกษุใหม่องค์สุดท้ายนี้เอง  เป็นเวรกรรมของเราหนอ  พระพุทธองค์ทรงทราบความรู้สึกของพระนาง  ต้องการให้พระนางเกิดปิติในบุญและอานิสงค์ยิ่งใหญ่ในการถวายผ้าครั้งนี้  จึงรับสั่งให้พระอานนท์  นำบาตรมาถวายแก่พระพุทธเจ้า  แล้วพระองค์จึงทำปาฏิหาริย์ให้บาตรนั้นลอยไปในอากาศ หายไปในท้องฟ้า  แล้วรับสั่งให้พระอรหันต์ทั้งหลายไปนำบาตรกลับมา  พระอรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์ทรงธรรมได้เหาะตามไปหาเอาบาตรเพื่อนำกลับมาถวายแด่พระพุทธองค์  แต่ก็ไม่มีใครนำบาตรกลับมาได้  จนถึงพระบวชใหม่องค์สุดท้ายคือ พระอชิตภิกษุที่จะต้องตามไปเอาบาตร  ท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า  แม้เราจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเบื้องหน้าแล้วไซร้  ขอให้บาตรนั้นจงตกลงมาสู่มือเรา  พอสิ้นคำอธิษฐานบาตรนั้นก็ล่องลอยลงมาจากท้องฟ้า  ตกลงสู่มือของอชิตภิกษุรูปนั้นอย่างอัศจรรย์  อชิตภิกษุรูปนี้แหละจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย์


                    ๔.  พระพุทธบาทจำลอง  ประดิษฐานไว้ในมณฑปวัดศรีวารีน้อย  มีขนาดกว้าง  ๗๕  เซนติเมตร สร้างเมื่อ            พ.ศ.๒๔๖๒  โดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้างคือ  นายช้อย นางทิพย์   ภู่น้อย  เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา   งานประจำปีวัดศรีวารีน้อย  จะมีสาธุชนมาบูชากราบไหว้ปิดทองเป็นจำนวนมาก


                    ๕.  บุษบก  มีขนาดกว้าง  ๑.๒๐  เมตร  สูง    เมตร  ทำด้วยไม้แกะสลัก  สี่ทิศมีพญาครุฑ  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖  เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์  โดยนางสุข  เปลี่ยนประเสริฐ  บริจาคทรัพย์สร้างบุษบกที่สวยงามนี้  ประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญวัดศรีวารีน้อย


                    ๖.  หงส์           ตั้งอยู่ที่วัดศรีวารีน้อย เป็นรูปนกทำด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์  ขนาดยาวประมาณ  ๖๙  เซนติเมตร  สูง  ๔๙  เมตร  มีผู้เล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่สร้างวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๔๑  ได้เห็นรูปหงส์ยืนอยู่บนหัวเสาไม้สักแกะสลักลงลักษณ์ปิดทอง ๒ ต้น หันหน้าไปยังลำคลองจระเข้  ทางทิศตะวันออก  สูง  ๑๕  เมตร  เสาไม้สักได้ชำรุดข้างใน  จึงได้เปลี่ยนมาติดตั้งไว้ด้านทางเข้าวัดศรีวารีน้อย  หันหัวไปทางทิศเหนือ  สาธุชนได้ร่วมกันสร้างหงส์ขึ้น  ซึ่งหงส์นั้นได้ชื่อว่า เป็นชาติหนึ่งของพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระยาหงส์ทอง



การศึกษา

                    ทางวัดเปิดสอนพระปริยัติธรรม  มีนักเรียนเข้าสอบธรรมสนามหลวง  เป็นประจำทุกปีตลอดมา


เจ้าอาวาส

                    วัดศรีวารีน้อย  มีเจ้าอาวาสปกครองที่มีหลักฐานปรากฏอยู่    รูป  คือ  : -

                    ๑.  หลวงพ่อฉิม   นุชสา                           พ.ศ. ๒๔๔๒ ๒๔๗๑

                    ๒.  หลวงพ่ออ้อน                                     พ.ศ. ๒๔๗๑ ๒๔๗๖

                    ๓.  หลวงพ่อชม   ศรีเที่ยง                        พ.ศ. ๒๔๗๖ ๒๔๘๐

                    ๔.  พระอาจารย์สมุห์พัว                          พ.ศ. ๒๔๘๐ ๒๔๙๐

                    ๕.  พระครูศรีวิริยกิจ                                พ.ศ. ๒๔๙๐ ๒๕๑๖

                    ๖.  พระครูสัทธาสมุทรวัตร                       พ.ศ. ๒๕๑๗ ๒๕๓๑

                    ๗.  พระอธิการนิพนธ์  ทินฺนาโภ               พ.ศ. ๒๕๓๑ ๒๕๓๗

                    ๘.  พระอธิการจิรพันธ์   อชิโต                  พ.ศ. ๒๕๔๐ ๒๕๔๗
                    ๙.  พระครูปลัดโสภณวัฒน์                     พ.ศ. ๒๕๔๗ ปัจจุบัน                 


1 ความคิดเห็น: